Happy Shaking Head Kaoani

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

งายวิจัย

งานวิจัย เรื่องการสอนแบบโครงการ
(Project  Approach)


                    การสอนแบบโครงการ คือวิธีการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวข้อเฉพาะที่เด็กสนใจ  ควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นเรียนร่วมกันหรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็กครูสามารถบูรณาการเนื้อหา เช่น คณิตศาสตร์การอ่านและวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในการทำโครงการของเด็กได้ด้วย ทั้งนี้ลักษณะเด่นของโครงการ คือ การค้นหาคำตอบจากเด็กและเด็กร่วมกับครูร่วมกัน เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือการทำโครงการของเด็กจะร่วมกันวางแผนศึกษาสถานที่ต่างๆ สัมภาษณ์เด็กรู้จักการแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้กับผู้อื่น
กระบวนการ
             โครงการถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมาย เหมาะกับพัฒนาการเด็ก เป็นการศึกษาอย่างลึกในช่วงเวลาที่ขยายได้ตามความสนใจของเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่มย่อย หรือแต่ละชั้น และตามแต่หัวเรื่องที่ต้องการศึกษาลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการไว้ ข้อ  คือ
              1.การอภิปรายกลุ่ม  ในงานโครงการ  ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น  ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ  ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
             3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
                 4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง     หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง  บุคคลในครอบครัว  เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง  อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง  หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น    แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น  ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง  ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย


นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Note 15

Note 15
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 15


Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,November 25,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
              ได้รับความรู้จากการนำเสนอการสรุปวิจัยและสรุปวิดีโอโทรทัศน์ครูจากเพื่อนๆและการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ต่างๆมานำเสนอและจัดหมวดหมู่ในเรื่อง  ลม,อากาศ,เสียง,แรงโน้มถ่วง,แสง,น้ำ   จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ทดลองทำและการสังเกตเพื่อค้นหาต้นเหตุในเรื่องๆนั้นๆ มีอุปกรณ์ ดังนี้
   
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
   1.น้ำดื่ม                  2.น้ำแดง    
   3.กรวย                   4.เกลือทำไอศกรีม
   5.ยางรัดของ           6.ทัพพี
   7.ถุงร้อนเล็ก           8.น้ำแข็ง
   


ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ
     1.ผสมน้ำแดงกับน้ำเปล่า  


     2.กรอกน้ำแดงใส่ถุงร้อนเล็ก


   3.มัดปากถุงให้เรียบร้อย จะมีลักษณะดังนี้

                

 4.จากนั้นนำไปวางลงหม้อที่มีน้ำแข็งกับเกลือทำไอศกรีมผสมคุกเค้ากันแล้ว  โดยเพื่อนจะใช้วิธีการคนระหว่างถุงน้ำแดงกับเกลือคุกน้ำแข็ง หมุนหม้อไปมา  เพื่อทำให้เกิดความเย็นได้ทั่วถึงกับถุงน้ำแดง จะทำให้ถุงที่จุน้ำแดงแข็งได้ไวกว่าแช่ตู้เย็น  มีลักษณะดังนี้


จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า  
              
            การแข็งตัวซึ่งช่วงนี้อุณหภูมิของน้ำจะคงที่ตลอด แต่หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำแข็งจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งลงไปจนเท่ากับอุณหภูมิของช่องแช่แข็ง แต่ทว่าบางครั้งน้ำอาจคงสภาพเป็นของเหลวได้โดยไม่เกิดการจับตัวแข็งเป็นน้ำแข็งแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิติดลบ ซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้น้ำหรือของเหลวสามารถอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้โดยไม่กลายเป็นของแข็งคือ น้ำหรือของเหลวนั้นต้องมีความบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีฝุ่น ผง ตะกอนใด ๆ ที่จะทำให้เกิดผลึกได้ รวมถึงผิวของภาชนะที่ใช้บรรจุก็ต้องมีผิวเรียบ สะอาดไม่มีฝุ่น ผงตะกอนติดอยู่ด้วยเช่นกัน 

การประเมิน
การประเมินตนเอง
       -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน
       -แต่งกายเรียบร้อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมินเพื่อน
       -เพื่อนมีการแต่งกายเรียบร้อย  แต่มีผู้ที่แต่งชุดนักศึกษา 1 คน
       -มีการตั้งใจฟังอาจารย์ได้เป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

การประเมินผู้สอน
       -อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผนการสอนและการนำเสนอที่ถูกต้องได้ดี
       -อาจารย์แต่กายสุภาพ เรียบร้อย  เข้าสอนตรงเวลา



นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์   เลขที่ 28

Note 14

Note 14
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 14 (การสอนชดเชย)

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,November 18,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               ได้รับความรู้เกี่ยวกับแผนการสอน และการทำวอฟเฟิลเพื่อนักศึกษาจะนำความรู้เหล่านี้ไปสอนได้จริง เป็นการทำCooking ที่มีขั้นตอนง่ายๆเหมาะสำหรับการสอนเด็กปฐมวัย

อุปกรณ์



การทำวอฟเฟิลมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  ผสมแป้ง เนย ไข่  น้ำ ลงในถ้วย 

ขั้นตอนที่ 2 ตีส่วนผสมให้เข้ากัน  

ขั้นตอนที่ 3  เทแป้งที่ตีเข้ากันแล้วเทลงในถ้วยเล็กให้เท่าๆกัน


ขั้นตอนที่ 4 ทาน้ำมันลงในเครื่องอบ  จากนั้นนำแป้งที่แบ่งไว้เทให้ทั่วเครื่องอบ รอประมาณ 5 นาทีก็จะได้วอฟเฟิลหอม กลมกล่อม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                 การทำCooking ของนักศึกษาในครั้งนี้  เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพครู ส่งเหริมให้นักศึกษาได้รู้จักการสอนเด็กปฐมวัยโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองจากวัสดุอุปกรณ์จริง  เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก  ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจง่าย ได้ทดลอง ได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่จากการเข้าครัวกับคุณแม่มาใช้ในการเรียนอีกด้วย

การประเมิน
การประเมินตนเอง
             -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย
             -ร่วมมือทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างให้ความสนใจ
             -จดบันทึกความรู้ที่ได้จากการอธิบายของอาจารย์ได้อย่างครบถ้วน

การประเมินเพื่อน
            -เพื่อนบางคนมาสาย  แต่กายไม่เข้ากับพวก  ส่วนใหญ่จะเรียบร้อยดี
            -ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อย่างตั้งใจ

การประเมินอาจารย์
            -อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีในการสอนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
            -อาจารย์มีความรับผิดชอบในการสอนได้ดีค่ะ




นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28




No13

Note 13
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 13

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,November 11,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
            ความรู้จากการนำเสนอบทความงานวิจัย,การสรุปวิดีโอจากโทรทัศน์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำแผนการสอนเพิ่มเติม โดยการทำCooking การสอนในครั้งนี้จะยกตัวอย่างการทำ Cooking เรื่องหน่วยไข่  
            การเรียนแผนการสอนโดยการทำCooking จะแบ่งฐานออกเป็นทั้งหมด 5 ฐาน แต่ละฐานจะมีขั้นตอนต่างๆเพื่อนให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  จากนั้น แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกันและเข้าฐาน ดังนี้


ฐานที่ 1 ตัดกระดาษเป็นวงกลม


ฐานที่ 2 หั่นผักเพื่อผสมไข่


ฐานที่ 3 ตอกไข่


ฐานที่ 4 ปรุงรส


ฐานที่ 5 ลงมือทำอาหาร


                     เมื่อแต่ละกลุ่มเข้าฐานแต่ละฐานเสร็จแล้ว  แต่ละกลุ่มจะมีการเปลี่ยนฐานเพื่อเรียนรู้ให้ครบทุกฐานโดยนักศึกษาจะได้เกิดการเรียนรู้ในการสอนแผนได้อย่างทั่วถึง จากนั้นนำผลงานที่ของแต่ละคนที่ทำมารวมกันเพื่อแสดงถึงผลงานความสำเร็จของตนเอง และนำไข่ทาโกะยากิของนักศึกษาแลกเปลี่ยนกันลิ้มรส

การประเมิน
ประเมินเพื่อน
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยมีเพื่อนบางคนใส่ชุดนักศึกษา
           -ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างตั้งใจ

การประเมินตนเอง
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
           -ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเรื่องแผนการสอน
           -ให้ความร่วมมืออย่างตั้งใจในการทำกิจกรรม

การประเมินอาจารย์
           -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา   แต่งกายเรียบร้อย
           -อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีเข้าใจง่าย



นางสาวหทัยทิพย์   อธิษฐานรัตน์   เลขที่ 28

Note 12

Note 12
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 12

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,November 4,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
              การนำเสนอแผนในแต่ละหน่วย และการเตรียมการพร้อมในการนำเสนอแผน โดยมีการปฏิบัติจริง  เพื่อนักศึกษาจะได้นำแผนที่จัดทำขึ้นมาใช้ในการสอน พร้อมมีอาจารย์คอยแนะนำ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอน กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายการนำเสนอแผนเรื่องกบ (วัฏจักรของกบ) โดยมีเนื้อหาสรุปเป็น Mind Map


ข้อแนะนำจากอาจารย์
        -อาจารย์ให้ปรับเเก้ขั้นสอนโดยหลังจากที่ให้เด็กๆไปดูบ่อกบเเล้วกลับมาที่ห้องเรียนอาจจะให้เด็กๆร่วมกันบอกสิ่งที่เด็กๆเห็นจากบอกกบเเล้วครูก็บันทึกข้อมูลเเล้วนำมาเชื่อมโยงเเละอธิบายวัฎจักรของกบเเต่ละขั้นเเละขณะอธิบายก็ใช้คำถามร่วมปลายเปิดร่วมด้วยเพื่อฝึกให้เด็กๆได้ลองคิดเเละใช้ประสบการณ์ของเด็กที่ได้สัมผัสมา 
        -อาจจะใช้นิทานร่วมในการอธิบายวัฏจักรของกบ 
        -ให้เด็กมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการสอนให้ได้มากที่สุดโดยเน้นกระบวนการคิดเเละการเรียนรู้ของเด็ก

การนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ

การนำเสนอของหน่วยดิน



การนำเสนอของหน่วยกล้วย



การนำเสนอของหน่วยไข่


การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
         -ร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน
         -เพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนสายเพราะเตรียมของนำเสนอ
         -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองาน
         -ร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารย์สอนแผนการสอนได้อย่างเข้าใจนอกจากการสอนด้วยการอธิบายและยังมีการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ง่ายขึ้น




นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์   เลขที่ 28






วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Note 11

Note 11
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 11

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,October 28,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                    1.แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
                    2.กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอน
                    3.การทดลองวิทยาศาสตร์ให้ความรู้

กิจกรรมวิทยาศาสตร์วันนี้มีทั้งหมด 5 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1  
                   -อุปกรณ์ที่นักศึกษาได้มอบหมายให้นำมามี ดังนี้
การทดลอง
                 -นำเทียนมาจุดไฟ จากนั้นนำแก้วมาครอบใส่เทียนที่จุดไว้
ผลการทดลอง
                 -เมื่อเรานำแก้วครอบลงเทียนที่จุดไว้ ไฟที่จุดไว้จะค่อยๆดับไป

กิจกรรมที่ 2
          การทดลอง  นำกระดาษ A4 ฉีกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  จากนั้นพับกระดาษที่ฉีกแบ่งแล้วออกเป็นรูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้  จะมีลักษณะ ดังนี้

ผลการทดลองสรุปได้ว่า    เมื่อนำกระดาษที่พับเป็นกลีบดอกไปลอยน้ำก็จะทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ผลิออกมา

กิจกรรมที่ 3
             อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันนวดดินน้ำมันให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วปั้นก้อนกลมๆจากนั้นนำไปจุ่มลงน้ำมีลักษณะ ดังนี้


ผลการทดลองสรุปได้ว่า   เมื่อนำดินน้ำมันจุ่มลงน้ำ จะเห็นได้ว่าดินน้ำมันที่มีลักษณะทรงกลมจะมีน้ำหนักจึงทำให้ดินน้ำมันตกลงถึงน้ำเร็ว

กิจกรรมที่ 4
                 จากกิจกรรมที่ 3 อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันนวดดินน้ำมันให้มีเนื้อละเอียด จากนั้นปั้นเป็นรูปทรงแบนจากนั้นนำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปทรงแบนไปจุ่มลงน้ำ จะมีลักษณะ ดังนี้


ผลการทดลองสรุปได้ว่า    เมื่อนำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปทรงแบนไปจุ่มน้ำจะทำให้ดินน้ำมันจมลงช้ากว่าดินน้ำมันทรงกลม  การปั้นกินน้ำมันให้ลอยน้ำจะขึ้นอยู่กับว่าเราจะปั้นขอบแต่ละด้านเท่ากันแค่ไหน หากปั้นดินน้ำให้มีน้ำหนักข้างใดข้างหนึ่งก็จะทำให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งหนัก การทดลองนี้มีใช้หลักการเดียวกับการสร้างเรือ

กิจกรรมที่ 5
                 นักศึกษานำปากกาจุ่มลงไปในแก้วน้ำที่มีน้ำ จากนั้นสังเกตการทดลอง

ผลการทดลองสรุปได้ว่า    เราจะมองเห็นปากกาส่วนที่เราจุ่มน้ำขยายใหญ่มากขึ้น และเกิดการหักเหของแสงและวัตถุ
การนำไปประยุกต์ใช้          สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา 
         -แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
         -หมั่นจดเนื้อหาในการสอน ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
         -เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมาก
         -แต่งการสุภาพเรียบร้อย
         -ให้ความร่วมมือกิจกรรมและการเรียนการสอนได้ดี

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารยืมีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน




นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28