สรุปบทความเรื่อง
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ขวบ
มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา เคมี
กลศาสตร์ แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ
สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้
การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย
แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ 2 – 6 ขวบ ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ (pre – operative
stage) เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง (self -
centered) และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง
เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น รู้สี รู้รูปร่าง
โดยรู้ทีละอย่าง จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้
หรือเอามาผนวกกันไม่ได้ ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง
ๆ เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ให้เหตุผล หรือทดลองด้วยตนเอง
ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ได้แก่ การสังเกต การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ
เช่น การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช
สังเกตความสูงของพืช และการงอกงามของพืช
เป็นต้น
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้
ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ
การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล
เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์
และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้
ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ
ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า
เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร
(Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้
เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การสรุปและการนำไปใช้
เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์
เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด
มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น
ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา
สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร
หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
สรุป
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย
2 ประการ คือ การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน
โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือ 1)
การสังเกต 2) การจำแนกเปรียบเทียบ
3) การวัด 4) การสื่อสาร
5) การทดลอง และ
6) การสรุปและนำไปใช้ สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ
การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า การสืบค้น
และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์
โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
แหล่งอ้างอิง
กุลยา ตันติผลาชีวะ. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551
กุลยา ตันติผลาชีวะ. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น