การบันทึกอนุทินครั้งที่ 9
Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana Suksamran
Date Tuesday,October 14,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
Prof.Jintana Suksamran
Date Tuesday,October 14,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
เนื้อหาการเรียนการสอน
อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำงานที่ได้รับมอบหมายคือ กิจกรรมสื่อการเรียนการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งประดิษฐ์มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลงานตนเอง
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ การทรงตัวด้วยความสมดุล
อุปกรณ์ 1.แกนกระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่ 2.ฝาขวดน้ำ 3.ไม้ไอศกรีม 30 ไม้
4.นิตยสาร 5.กาว
วิธีทำ 1.ฉีกกระดาษนิตยสารเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อตกแต่งแกนกระดาษทิชชู่
2.แปะชิ้นกระดาษลงแกนกระดาษและอุดช่องด้วยฝาขวดน้ำ
วิธีเล่น นำไม้ไอศกรีมวางบนฝาขวดบนสุดของแกนกระดาษทิชชู่ ต่อไม้ไอศกรีมให้เกิดความ สมดุลต่อเรื่อยๆจนกว่าจะครบ 30 แท่ง
ผลการทดลอง
การทรงตัวของไม้ไอศกรีมจะทรงตัวได้จะต้องมีความสมดุลของแต่ละข้าง เพราะฉนั้นการวางไม้ไอศกรีมแต่ละข้างเท่าๆกันทำให้น้ำหนักไม่ถ่วงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม้ไอศกรีมเกิดความสมดุลไม้ไอศกีมจึงไม่ล้ม
ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ
ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสมดุลของวัตถุ
ความสมดุลของวัตถุ หรือ ดุลยภาพของวัตถุ (Subject Balance) หมายถึง วัตถุที่มีองค์ประกอบของรูปทรง รูปร่าง หรือน้ำหนักที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ในงานศิลปะทุกแขนงนิยมนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพของวัตถุ ไม่เว้นแม้แต่ภาพถ่าย ที่ผู้ถ่ายภาพควรจะต้องเรียนรู้ เข้าใจวิธีการจัดองค์ประกอบภาพในภาพถ่ายให้มีจุดสมดุล มีน้ำหนักเฉลี่ยที่เท่ากันทุกด้าน อันจะทำให้เกิดความงามทางดุลยภาพ ซึ่งปกติแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) คือ การจัดองค์ประกอบภาพที่เน้นให้ขนาดรูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ ตลอดจนน้ำหนักของสีเกิดความสมดุลมีน้ำหนักเท่ากันทั้ง 2 ด้าน เปรียบได้กับการพับครึ่งของหน้ากระดาษแล้วจะได้รูปร่างของวัตถุที่ทับซ้อนกันพอดีทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง แลดูสง่า มีความเท่าเทียมกัน นิยมใช้กับภาพที่ดูเป็นทางการ เช่น ภาพถ่ายติดบัตร ภาพถ่ายหมู่ในงานพิธีการ ภาพอาคารสถาปัตยกรรมที่ผู้ถ่ายภาพต้องการสื่อให้เห็นถึงความสง่างาม เป็นต้น
2. สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) คือ การจัดองค์ประกอบภาพที่มีขนาดของรูปทรง หรือรูปร่างและน้ำหนักของสีทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน เป็นการจัดวางที่ไม่ยึดติดกับกฏเกณฑ์ แต่ใช้การจัดวางคู่สีที่ตรงกันข้ามกัน ทำให้เกิดสมดุลด้วยน้ำหนักขององค์ประกอบ หรืออาจใช้การจัดวางที่ว่าง (Space)
ความรู้เพิ่มเติมที่ได้จากการเรียนการสอน
อาจารย์ได้แนะนำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำแผนการศึกษา ความรู้เรื่องหลักการทำmind mapที่ให้ความรู้ อธิบายความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ มีแนวทางในการศึกษาที่กว้างขวางจากคำแนะนำของอาจารย์ ในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสมดุลของวัตถุว่าวัตถุเกิดการทรงตัวได้อย่างไร แต่ความรู้ต่างๆที่ได้จากการอธิบายของอาจารย์
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
-มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
-มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
-มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ได้ดี
ประเมินผู้สอน
-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
-อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่เข้าใจง่าย สอดแทรกเนื้อหาความรู้ในกิจกรรมของนักศึกษา
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เพื่อได้ความรู้เพิ่มเติม
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 28
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น