Happy Shaking Head Kaoani

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Note.10

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 10
Note.10

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,October 21,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
           1.การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ  ได้ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องลม  แรงดัน ฯลฯ
          2.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมายงานแผนการศึกษาแล้วจัดโต๊ะเป็นวงกลมมาช่วยกันระดมความคิด ในการคิดแผนการศึกษาให้มีความละเอียด ครบถ้วน  และสมบูรณ์แบบ
         3.อาจารย์อธิบายเรื่องการทำแผนการศึกษาให้ถูกต้องตามรูปแบบ  อธิบายการตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวข้อต่างๆ พร้อมบอกแนวทางในการทำแผนการศึกษา
        4.ได้ความรู้จากการระดมความคิดกับเพื่อนๆเรื่องทำแผนการศึกษา ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำแผนการศึกษาเรื่อง กบ อธิบายโดยMind map  ดังนี้

นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์ เลขที่ 28

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ


สรุปบทความเรื่อง 
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      
               วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น
       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การสรุปและการนำไปใช้
                  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
สรุป
         กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
แหล่งอ้างอิง
            กุลยา  ตันติผลาชีวะ.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.  กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551


การบันทึกอนุทินครั้งที่ 9

Note 9
การบันทึกอนุทินครั้งที่ 9

Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,October 14,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
เนื้อหาการเรียนการสอน
     อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำงานที่ได้รับมอบหมายคือ กิจกรรมสื่อการเรียนการสอนของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สิ่งประดิษฐ์มานำเสนอหน้าชั้นเรียน 
ผลงานตนเอง
ชื่อสิ่งประดิษฐ์     การทรงตัวด้วยความสมดุล

อุปกรณ์           1.แกนกระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่     2.ฝาขวดน้ำ    3.ไม้ไอศกรีม  30 ไม้
                         4.นิตยสาร     5.กาว
วิธีทำ               1.ฉีกกระดาษนิตยสารเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อตกแต่งแกนกระดาษทิชชู่
                         2.แปะชิ้นกระดาษลงแกนกระดาษและอุดช่องด้วยฝาขวดน้ำ
วิธีเล่น              นำไม้ไอศกรีมวางบนฝาขวดบนสุดของแกนกระดาษทิชชู่  ต่อไม้ไอศกรีมให้เกิดความ                              สมดุลต่อเรื่อยๆจนกว่าจะครบ 30 แท่ง

ผลการทดลอง
        การทรงตัวของไม้ไอศกรีมจะทรงตัวได้จะต้องมีความสมดุลของแต่ละข้าง  เพราะฉนั้นการวางไม้ไอศกรีมแต่ละข้างเท่าๆกันทำให้น้ำหนักไม่ถ่วงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม้ไอศกรีมเกิดความสมดุลไม้ไอศกีมจึงไม่ล้ม
ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสมดุลของวัตถุ
ความสมดุลของวัตถุ หรือ ดุลยภาพของวัตถุ (Subject Balance) หมายถึง วัตถุที่มีองค์ประกอบของรูปทรง รูปร่าง หรือน้ำหนักที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ในงานศิลปะทุกแขนงนิยมนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพของวัตถุ ไม่เว้นแม้แต่ภาพถ่าย ที่ผู้ถ่ายภาพควรจะต้องเรียนรู้ เข้าใจวิธีการจัดองค์ประกอบภาพในภาพถ่ายให้มีจุดสมดุล มีน้ำหนักเฉลี่ยที่เท่ากันทุกด้าน อันจะทำให้เกิดความงามทางดุลยภาพ ซึ่งปกติแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) คือ การจัดองค์ประกอบภาพที่เน้นให้ขนาดรูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ ตลอดจนน้ำหนักของสีเกิดความสมดุลมีน้ำหนักเท่ากันทั้ง 2 ด้าน เปรียบได้กับการพับครึ่งของหน้ากระดาษแล้วจะได้รูปร่างของวัตถุที่ทับซ้อนกันพอดีทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง แลดูสง่า มีความเท่าเทียมกัน นิยมใช้กับภาพที่ดูเป็นทางการ เช่น ภาพถ่ายติดบัตร ภาพถ่ายหมู่ในงานพิธีการ ภาพอาคารสถาปัตยกรรมที่ผู้ถ่ายภาพต้องการสื่อให้เห็นถึงความสง่างาม เป็นต้น 
2. สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) คือ การจัดองค์ประกอบภาพที่มีขนาดของรูปทรง หรือรูปร่างและน้ำหนักของสีทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน เป็นการจัดวางที่ไม่ยึดติดกับกฏเกณฑ์ แต่ใช้การจัดวางคู่สีที่ตรงกันข้ามกัน ทำให้เกิดสมดุลด้วยน้ำหนักขององค์ประกอบ หรืออาจใช้การจัดวางที่ว่าง (Space)
ความรู้เพิ่มเติมที่ได้จากการเรียนการสอน
อาจารย์ได้แนะนำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำแผนการศึกษา ความรู้เรื่องหลักการทำmind mapที่ให้ความรู้ อธิบายความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ มีแนวทางในการศึกษาที่กว้างขวางจากคำแนะนำของอาจารย์ ในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสมดุลของวัตถุว่าวัตถุเกิดการทรงตัวได้อย่างไร แต่ความรู้ต่างๆที่ได้จากการอธิบายของอาจารย์
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
-มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน  ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
-มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
-มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ได้ดี
ประเมินผู้สอน
-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรยบร้อย
-อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่เข้าใจง่าย  สอดแทรกเนื้อหาความรู้ในกิจกรรมของนักศึกษา
-อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  เพื่อได้ความรู้เพิ่มเติม


นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28

อนุทินครั้งที่ 8

Note.8

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 8
Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,October 7,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการสอบกลางภาคไม่มีการเรียนการสอน

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อากาศมหัศจรรย์

สรุปการบันทึกความรู้เรื่อง  อากาศมหัศจรรย์
        

        ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศใต้เรียกว่า ลมใต้ เป็นต้น ในละติจูดต่ำไม่สามารถจะคำนวณหาความเร็วลม แต่ในละติจูดสูงสามารถคำนวณหาความเร็วลมได้
วิธีโอเกี่ยวกับการทดลองต่างๆที่เกี่ยวกับลมจากเรื่องอากาศมหัศจรรย์

     บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere)  และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

แรงดันอากาศ
       อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดัน รอบทิศทาง เรียก แรงดันอากาศ เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน เป็นต้นแรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทางความดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดัน
ประโยชน์ของความดันอากาศ
1. การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด
2. การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา
3. การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดัน
ภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้
4. การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า กาลักน้ำ
5. การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก เนื่องจากความดันอากาศภายนอกมากกว่าความดันอากาศภายในแป้นยาง จึงกดหัวแป้นยางให้ดูดติดกับกระจก
ตัวอย่างวีดิโอการทดลองเรื่องแรงดันอากาศ

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 7
Note No.7
Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,September 30,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
อาจารย์มีกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
 กิจกรรมที่ 1

อุปกรณ์   1.กระดาษ 2.กรรไกร  3.คลิปหนีบกระดาษ
วิธีการทำ  1.ตัดกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวยาว ประมาน 10 เซนติเมตร 
                 2.ตัดครึ่งของกระดาษแนวยาว แล้วพับปักออก 2 ข้าง
                 3.พับส่วนที่ไม่ตัดครึ่งมานิดหน่อยแล้วนำคลิบหนีบกระดาษหนีบ
สังเกตการทดลอง
   สังเกตการโยนลูกหมุนของเพื่อนๆแต่ละคน  ลูกหมุนของแต่ละคนนั้นเมื่อโดนขึ้นพร้อมกันลูกหมุนจะตกลงมาไม่เหมือนกัน เพราะ มีการโยนระดับแรงไม่เท่ากัน และขนาดกระดาษ  การตัดกระดาษที่ไม่เท่ากัน ทำให้ผลของการโดนลูกหมุนขึ้นข้างบนลงสู่ที่ต่ำ ตกลงพื้นช้าหรือเร็วไม่เท่ากัน

กิจกรรมที่ 2

อุปกรณ์  1.แกนกระดาษทิชชู่   2,ไหมพรม 3,กระดาษเหลือใช้  4.กรรไกร  5.กาว  สี
วิธีทำ  1.ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน  
           2.เจาะรูข้างแกนทิชชู่ 1 ท่อน 
           3.นำไหมพรมร้อยเข้ารูที่เจาะ วาดรูปใส่กระดาษแล้วแปะตกแต่ง
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคิดวิธีเล่น
การนำเสนอบทความ 5 คน
1.สะกิดให้ลูกคิดวิทยาศาสตร์
2.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
3.สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาจากเด็กปฐมวัย จากไก่และเป็ด
4.หลักสูตรปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  อาจารย์ได้มรการสอนโดยให้อิสระในการเรียนรู้ของนักศึกษา ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามจินตนาการ  ไม่ปิดกลั้นความคิดเห็น  อาจารย์จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจมากขึ้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
    -แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมได้ดี
ประเมินเพื่อน 
    -แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินผู้สอน
    -อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ  ไม่ปิดกลั้นนักศึกษา มีเนื้อหาและกิจกรรมใหม่ๆมาสอนเสมอทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจและง่ายขึ้น



นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์   เลขที่ 28