Happy Shaking Head Kaoani

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 6
Note No.6
Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,September 23,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
เนื้อหาในการเรียนการสอน
    อาจารย์ได้อธิบายถึงเกณฑ์การให้คะแนนจากบล็อกมีดังนี้
 1.ความรับผิดชอบ
 2.เนื้อหารายละเอีอดครบถ้วน
 3.เนื้อหาเข้าใจง่ายสอดคล้องกับเด็กปฐมวัย
 4.บล็อกมีความเรียบร้อย มีองค์ประกอบของบล็อกครบถ้วน

การบรูณาการกิจกรรมต่างๆของเด็กปฐมวัยมีส่วยช่วยในพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  1.ด้านร่างกาย                  2.ด้านอารมณ์ 
  3.ด้านสังคม                     4.ด้านสติปัญญา

การบูรณาการจากกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        เด็กๆ ได้ร้องเพลง คิดท่าประกอบเพลง ทำท่าประกอบเพลง ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ประกอบ ด้วยเพลงเหาะไปบนฟ้า และเพลงปีเตอร์แพน ได้แปลงร่างเป็นตัวละครต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน และเคลื่อนไหวประกอบจังหวะตามลักษณะสำคัญของตัวละคร และได้ทำกิจกรรมตามผู้นำ (ผู้นำ
ผู้ตาม) โดยดัดแปลงมาจากตอนที่ตัวละครในเรื่องออกไปตามพวกอินเดียนแดง ฯลฯ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        เด็กๆ ได้เล่นสมมติจากสถานการณ์ในเรื่อง เช่น ตอนทิงเกอร์เบลอิจฉาเวนดี้ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม หรือตอนเวนดี้ไม่ยอมเป็นพวกโจรสลัด เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการปฏิเสธที่จะทำผิดตามที่ผู้อื่นสั่งให้ทำ ได้เล่นสมมติเป็นอินเดียนแดงทดลองทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสามัคคี นอกจากนี้ยังมีการเล่นละครสร้างสรรค์ 5 ฉากสำคัญ คือ เหาะไปบนฟ้า ตามผู้นำ ช่วยไทเกอร์ลิลลี่ ที่ซ่อนของปีเตอร์แพน และกลับบ้านกันโดยเด็กๆ จะต้องแบ่งหน้าที่กันทำ ด้นสดบทละคร และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฯลฯ

กิจกรรมสร้างสรรค์
        เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กเลือกทำเป็นรายบุคคล ได้แก่ พับหมวกปีเตอร์แพน ดัดลวดเพื่อทำปีกทิงเกอร์เบล วาดนางเงือก และตัดเพื่อนำไปไว้ที่ทะเลสาบนางเงือก พับจระเข้ตัวเล็ก ตัดรูปมือระบายสีเพื่อทำสายรุ้ง ตัดรูปดาวและปั๊มสีเพื่อทำดาวที่ลอนดอนยามค่ำคืน และทำสายคาดศีรษะของอินเดียนแดง ฯลฯ และได้ทำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ ได้แก่ การสร้างเนเวอร์แลนด์ซึ่งต้องทำดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ เรือโจรสลัด หินรูปหัวกะโหลก จระเข้ตัวใหญ่ และการสร้างลอนดอนซึ่งต้องทำภาพเมืองลอนดอนและหอนาฬิกา ฯลฯ

กิจกรรมเสรี 

        เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องแสงและเงาผ่านการทำกิจกรรมวาดเงาของตัวละคร เรียนรู้ประโยชน์ของแสงจากการส่องไฟฉายหาตัวละครในกล่องปริศนา ได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านการทำกลองของอินเดียนแดง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารผ่านการทำแพนเค้กรูปหน้าตัวละคร ได้เรียนรู้ภาษาผ่านตัวอักษรล่องหนของอินเดียนแดง ฯลฯ โดยครูจัดกิจกรรมเหล่านี้ตามความคิดของเด็กไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งในกิจกรรมเสรี

กิจกรรมกลางแจ้ง
        เด็กๆ ได้เล่นเดินเป็นแถวตามจังหวะมาร์ช โดยร้องเพลงตามผู้นำไปในที่ต่างๆ ในโรงเรียน โดยเล่นสมมติเป็นพวกอินเดียนแดง เด็กๆ เล่นเครื่องเล่นสนามโดยสมมติว่าเครื่องเล่นแต่ละอย่างเป็นสถานที่ต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน ฯลฯ

กิจกรรมเกมการศึกษา
        เด็กๆ ได้เล่นเกมจับคู่คำศัพท์ทั้งคำศัพท์เกี่ยวกับฉาก และตัวละคร ในหลายๆ ลักษณะ เช่น ทอยลูกเต๋าแล้วหาบัตรคำศัพท์ นำบัตรคำศัพท์ไปวางคู่กับสิ่งของจริงๆ ที่เด็กสร้างขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งเกมอื่นๆ เช่น ลากเส้นหาทางออกให้ทิงเกอร์เบล ฯลฯ
       
การนำเสนอบทความจากเพื่อนๆมี 5 เรื่อง  ดังนี้ 
    1.เกมการศึกษาเรื่องพืช
    2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
    3.แนวทางสอนคิดเติมวิทยาศาสตร์ให้เด็กอนุบาล
    4.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของปฐมวัย
    5.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนู
เนื้อหาอื่นๆในการสอน
   - construc  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
   -การที่เด็กลงมือกระทำสิ่งๆนั้น
   -ธรรมชาติของเด็ก
   -ประสาทสัมผัสทั้ง 5
   -กิจกรรมสื่อการเรียนการสอน
กิจกรรมที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำในวันนี้
สื่ิอการเรียนรู้กิจกรรมหมุนภาพ
       อาจารย์ได้มีการอธิบายงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายเป็นกลุ่มโดยให้นักศึกษาตั้งหัวข้อและหาความหมายของเรื่องนั้นๆเช่น ความหมายของ ไข่,สัปปะรด,ดิน,ข้าว,กล้วย,กบ

การประเมินตนเอง
   -เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
   -ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน เก็บรายละเอียดเนื้อหามาพัฒนาตนเอง
การประเมินเพื่อน
   -การแต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
   -เพื่อนบางส่วนที่ไม่ตั้งใจ อีกกลุ่มมีการจดบันทึกเนื้อหาได้ละเอียด
การประเมินผู้สอน
   -อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
   -อาจารย์มีเนื้อกายและเทคนิคการสอนได้อย่างเข้าใจและมีประสิทธิภาพ
  


นางสาวหทัยทิพย์   อธิษฐานรัตน์    เลขที่ 28




การบันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5ความลับของแสง

Note No.5
Science Experiences Management for Early Childhood
Prof.Jintana  Suksamran
Date Tuesday,September 16,2014
Group 103
Time 08.30 am 12.20 pm
องค์ความรู้ของแสง 

            แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ของพลังงานแสงจะอยู่ในรูปของคลื่น ซึ่งมีช่วงความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 380-760 นาโนเมตร ช่วงความยาวคลื่นของพลังงานแสงดังกล่าวช่วยทำให้เกิดการเห็น ส่วนพลังงานรูปอื่นเช่นรังสีอัลตร้าไวโอเลต, รังสีเอ๊กซ์ ที่มีความยาวคลื่นสั้นกวา 380 นาโนเมตร หรือคลื่นวิทยุ,คลื่นโทรทัศน์และพลังงานไฟฟ้า ที่มีช่วงความยาวคลื่นยาวกว่า 760 นาโนเมตร พลังงานเหล่านี้มิได้ช่วยให้เกิดการเห็น


การกำเนิดแสง
การกำเนิดแสงสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะคือ
              1. แบบอินแคนเดสเซนต์ ( INCANDESCENCE) การกำเนิดแสงที่เกิดจากการเผาหรือการให้พลังงานความร้อน เช่นการเผาแท่งเหล็กที่ความร้อนสูงมากๆโดยการเพิ่มอุณหภูมิไปเรื่อยๆ แท่งเหล็กจะเปลี่ยนสีออกทางส้มและเหลืองจ้าสว่างในที่สุด
          2. แบบลูมิเนสเซนต์ ( LUMINESCENCE ) การกำเนิดแสงที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานแสง เช่น แสงจากตัวแมลง,แสงที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี,แสงที่เกิดจากการเปลี่ยนวงโคจรของอิเลคตรอน รวมไปถึงแสงที่เกิดจากการปล่อยประจุของก๊าซ เช่นแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์
วิดิโอ การเดินทางของแสง







วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมี 3 แบบ คือ
   1.วัตถุโปร่งแสง
   2.วัตถุโปร่งใส
   3.วัตถุทึบแสง
          ถ้าลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง  จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว  300,000 กิโลเมตรต่อวินาที  แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้  แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้  เช่น แผ่นเหล็ก  ผนังคอนกรีต  กระดาษหนาๆ  เป็นต้น  วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน  และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้
          วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ  น้ำ เป็นต้น  เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส   เห็นสิ่งต่างๆได้  (ภาพที่  12.1) 
          แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได  เช่น  กระจกฝ้า  กระดาษฝ้า  พลาสติกฝ้า  วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ  ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง
การหักเหของแสง
           การหักเหของแสง (Refraction) เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในขณะที่แสงเกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนของแสงขึ้นพร้อมๆกันด้วย

แสงและเงา

                แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กันแสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา   แสงและเงาเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของเแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น  และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนัก ของแสงและเงา



เรื่องความลับของแสงสรุปเป็น Mild Mapได้ดังนี้

การประเมินตนเอง
  -แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
  -ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาได้อย่างระเอียด
การประเมินเพื่อน
  -การแต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียนตรงเวลา
  -เพื่อนมีเตรียมความพร้อมในการเสนองานได้อย่างพร้อมเพียง
การประเมินผู้สอน
  -อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
  -อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่ทันสมัย และเข้าใจง่าย

 นางสาวหทัยทิพย์   อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28




วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 4 วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร ที่  9 กันยายาน 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 08.30-12.20 น
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
- การนำเสนอบทความของนักศึกษา 5 บทความ
1.จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบของเล่นวทยาศาสตร์
2.ทำอย่างไรไม่ให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3.วิทย์-คณิต สำหรับเด็กปฐมวัย ต่ออนาคตของชาติ
4.เมื่อลูกน้อยเรียนวิทย์-คณิต จากเสียงดนตรีบูรณาการ กิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของวิทยาศาสตร์
                 วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและการจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อบ่างมีแบบแผน มีขอบเขตโดยอสศัยหลักการสังเกต การทดลองเพื่อค้นคว้า ความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
         -การเปลี่ยนแปลง 
         -ความแตกต่าง
         -การปรับตัว
         -การพึ่งพาอาศัย
         -ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
 1.ขั้นกำหนดปัญหา
 2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
 3.รวบรวมข้อมูล
 4.ขั้นลงข้อสรุป

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ปรับเข้าสู่การเรียนการสอนในด้านอื่นๆได้ ได้รู้ถึงการกำหนดปัญหา  ทักษะต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทำให้เราก้าวทันโลก และเข้าใจในสิ่งต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน  ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์
การประเมินตนเอง
     -เข้าเรียนตรงเวลา
     -แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
     -ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาความรู้ที่อาจารย์มอบให้  
การประเมินผู้สอน
     -อาจารย์แต่งกาย เรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
    -อาจารย์มีเนื้อหาใหม่ๆมาสอน น่าสนใจ  ก้าวทันโลก
    -อาจารย์มีการให้โอกาสสำหรับคนที่ตอบคำถามผิดให้มีโอกาสได้แก้ตัว


นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร ที่  2 กันยายาน 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 08.30-12.20 น

นักศึกษานำเสนอบทความที่ได้ไปศึกษา  มาเสนอหน้าชั้นเรียน มี  4 เรื่องดังนี้
  1.เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
  2.เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
  3.เรื่องการแยกเมล็ดพืช
  4.เรื่องเจ้าลูกโป่ง

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3 ปี 
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
   1.1 วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
   1.2 รับลูกบอลมือและลำตัว
   1.3 เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
   1.4 เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
   1.5 ใช้กรรไกรมือเดียวได้
   1.6 วาดภาพระบายสีอิสระได้
2.พัฒนาการด้านอารมณ์
   2.1 แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
   2.2 ชอบที่จะให้ผู้ใหญ่พอใจและคำชม
   2.3 กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงใกล้ชิดน้อยลง
3. พัฒนาการด้านสังคม
   3.1 รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
   3.2 ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างตนต่างเล่น)
   3.3 เล่นสมมติได้
   3.4 รู้จักรอคอย
4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
   4.1 สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและแตกจ่างกันได้
   4.2 บอกชื่อของตนเองได้
   4.3 ขอความช่วยเหลือเกิดปัญหา
   4.4 สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
   4.5 สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
   4.6 ร้องเพลง  ท่องคำ  กลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
   4.7 สร้างผลงานตามความคิดของตัวเองได้ง่ายๆ
   4.8 อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

เด็กอายุ 4 ปี
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
    1.1 กระโดดขาเดียวกับที่ได้
    1.2 รับลูกบอลด้วยบอลทั้งสองได้
    1.3 เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
    1.4 เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
    1.5 ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
    1.6 กระฉับกระเฉยไม่ชอบอยู่เฉยๆ
2. พัฒนาการทางด้านอารมณ์
    2.1 แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานะการณ์
    2.2 เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถของตนเองและผู้อื่น
    2.3 ชอบท้าทายผู้ใหญ่
    2.4 ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
3.พัฒนาการทางด้านสังคม
    3.1 แต่งตัวได้ด้วยตนเองไปห้องส้วมได้เอง
    3.2 เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับ ก่อน-หลัง
    3.3 แบ่งของให้คนอื่น
    3.4 เก็บของเล่นเข้าที่ได้
4.พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
    4.1 จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
    4.2 บอกชื่อนามสกุลของตนเองได้
   4.3 พยายามแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
    4.4 สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
    4.5 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น

เด็กอายุ 5 ปี
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย
     1.1 กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
     1.2 รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นได้ด้วยมือทั้ง 2
     1.3 เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
     1.4 เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
     1.5 ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
     1.6 ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือก รองเท้า
2. พัฒนาการทางด้านอารมณ์
    2.1 แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
    2.2 ชื่นชมความสามารถของตนเองและผู้อื่น
    2.3 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
3. พัฒนาการทางด้านสังคม
    3.1 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
    3.2 เล่นหรือทำงานโดยมีจุดหมายร่วมกับผู้อื่นได้
    3.3 พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
    3.4 รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
   3.5 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
4.พัฒนาการด้านสติปัญญา
    4.1 บอกความแตกต่างของ กลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
    4.2 บอกชื่อ นามสกุลอและอายุของตนเองได้
    4.3 พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
    4.4 สนทนาโต้ตอบ เล่าเป็นเรื่องราวได้
    4.5 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
    4.6 รู้จักใช้คำถาม ทำไม  อย่างไร
    4.7 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม  นับสิ่งต่างๆจำนวนมากกว่า 10 ได้
พัฒนาการทางร่างกาย ของเด็กอายุ 3-5ปี
พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก การเพิ่มของ น้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ในตอนต้นของวัยนี้ สัดส่วนของร่างกายเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น ทำให้สามารถกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวดีขึ้น เด็กจึงชอบวิ่ง กระโดด ไม่หยุดนิ่ง การหยิบจับและการช่วยเหลือตนเอง สามารถควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กวัยนี้ พร้อมที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลัง การเล่นกลางแจ้ง การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ หวี ผม แปรงฟันได้เอง และสามารถช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้  เราจะเห็นว่าเด็กในวัยนี้มีการพัฒนาด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
     การนำไปประยุกต์ใช้   -
          สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เข้าใจในพัฒนาการของเด็กได้อย่างดี  ทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าถึงเด็กได้ถูกวิธี สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาและนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้  ทางคณิตศาสตร์ เช่นการ คำนวณ หาปริมาตร 
การประเมินตนเอง
       -แต่งกายเรียบร้อย
       -เข้าเรียนได้ตรงเวลา
       -เก็บข้อมูลการสอนจากอาจารย์ได้ดี จดข้อมูลความรู้ได้อย่างตั้งใจ
การประเมินผู้สอน
        -อาจารย์เข้าสอนได้ตรงเวลา
        -อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาความรู้ได้อย่างเข้าใจ ชัดเจน
        -อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน


 นางสาวหทัยทิพย์   อธิษฐานรัตน์  เลขที่ 28